วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การตัดเปลี่ยนหัวเก๋งรถยนต์



กรณีรถชนเสียหายหนัก การตัดต่อเปลี่ยนหัวเก๋งจะทำได้ง่ายกว่าการซ่อมตีคืนรูปเดิม
ดัง นั้นอู่ซ่อมจึงทำการเปลี่ยนหัวเก๋งแทนแต่การเปลี่ยนหัวเก๋งกระทบกับความ ปลอดภัย จึงจำเป็นต้องให้วิศวกรเครื่องกลระดับ สามัญวิศวกรขึ้นไปเซ็นต์รับรองก่อนนำไปแจ้งกับขนส่งครับ







 รับเซ็นต์รับรองความปลอดภัย ก่อนแจ้งขนส่งโดยสามัญวิศวกรเครื่องกล
สมพงค์
087-6923836
sompong10000@hotmail.com

up date เซ็นต์รถยนต์กระบะบรรทุกส่วนบุคคล (รย3) ตัดเปลี่ยนหัวเก๋ง เดิมไม่มีแคป เปลี่ยนเป็นเพิ่มแคป




วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรื่องบอกเล่าเกี่ยวกับสีทูโทน

ติดสติ๊กเกอร์สีดำบนหลังคารถยนต์สีขาวผิดกฎหมายหรือไม่ครับ (ที่เค้าเรียกกันว่าสติ๊กเกอร์หลังคาแก้ว)

สวัสดีครับ ผมสมาชิกใหม่นะครับ ขออนุญาตรบกวนทุกๆท่านเพื่อขอความรู้ดังนี้ครับ วันนี้ผมขับรถ Mazda3 รุ่น 5 ประตู สีขาวเพื่อไปธุระที่จังหวัดสระบุรี ระหว่างทางได้ใช้เส้นทางเลี่ยงเมืองสระบุรีครับ ปรากฏว่าเจอด่านตำรวจครับ เค้าเรียกผมทันที จากนั้นได้ขอดูสมุดทะเบียนและใบขับขี่
ผมหยิบสำเนาสมุดทะเบียนให้ดูทันที แต่ใบขับขี่ผมไม่ให้ พอเค้าเห็นสำเนา เค้าก็บอกว่าผมดัดแปลงสภาพรถ โดยมีบทสนทนาประมาณนี้ครับ


ตำรวจ : คุณดัดแปลงสภาพรถนะครับ ขอใบขับขี่ด้วย
ผม : ดัดแปลงยังไงครับ งง???
ตำรวจ : คุณทำสีหลังคา แต่ไม่ได้แจ้งเปลี่ยนในเล่มทะเบียน
ผม : จริงอ่ะพี่ เหมือนผมเคยได้ยินว่า ถ้าไม่เกิน 30% ของพื้นที่ก็ไม่ต้องแจ้งก็ได้นี่นา แถมอันนี้เป็นแค่สติ๊กเกอร์ด้วย
ตำรวจ : ไม่มีครับ ผมศึกษามาแล้ว
ผม : งั้นผมโทรคุยกับเพื่อนก่อน
ตำรวจ : (เขียนใบสั่ง แล้วเดินไปที่รถอีกคัน ซักพักก็เดินกลับมา) ขอใบขับขี่ด้วยครับ
ผม : ขอคุยโทรศัพท์ก่อนพี่
ตำรวจ : (เขียนอะไรเพิ่มในใบสั่งไม่รู้ แล้วเหน็บไว้ที่ป้ดน้ำฝนรถผม แล้วเดินไปโดยไม่พูดจา)
ผม : (วางสายโทรศัพท์ เดินไปดู ปรากฏว่าเค้าเพิ่มข้อหาให้ผม ว่าไม่นำใบอนุญาตติดตัวเพื่อแสดงได้ทันที พร้อมเพิ่มเงินค่าปรับด้วย สุดยอด)

จากนั้นผมก็หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายรูปรถตัวเอง และถ่ายรูปใบสั่ง โดยตั้งใจให้คุณตำรวจที่มองผมอยู่เห็นจากนั้นก็เดินกลับขึ้นรถ ปรากฏว่า คุณตำรวจแกเดินกลับมาครับ พร้อมยกโทรศัพท์แกขึ้นมาถ่ายรูปรถผม (เออ เอากะเค้า) ผมจึงลดกระจกลง และถามว่าถ่ายรูปรถผมทำไม เค้าก็ว่าจะถ่ายไว้เป็นหลักฐาน (อืม ดีครับ ดี) ผมจึงขอถ่ายรูปแกไว้เช่นกัน (แต่ไม่ขอลงนะครับ)

มาถึงคำถามครับ
1. การติดสติ๊กเกอร์สีดำบนหลังคารถสีขาวแบบนี้ ผิดกฏหมายหรือไม่ครับ
2. ที่ผมเคยได้ยินว่า ถ้าติดไม่เกิน 30% ไม่ต้องแจ้งเปลี่ยนในเล่มทะเบียนได้ อันนี้ถูกหรือผิดครับ
3. การที่พี่ตำรวจเค้าเพิ่มข้อหาให้ผมนั้น เป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ครับ
4. หากผมไม่ผิด ไม่ว่าข้อหาเดียวหรือทั้งสองข้อหา ผมสามารถทำอะไรกับใบสั่งใบนี้ได้บ้างครับ
 


ความคิดเห็นที่ 1

สติ๊กเกอร์กับทำสีก็คืการเปลี่ยนแปลงสภาพรถเหมือนกันครับ
ต้องแจ้งขนส่งลงเล่ม
แค่หลังคาก็เกินพื้นที่ 30% แล้วละครับ

ความคิดเห็นที่ 5
ดูยังไง หลังคารถก็ไม่น่าจะเกิน 30%
แต่โดนแจ้งอีกข้อหา
ก็คงเพราะคุณไม่ให้เค้าดูนั่นแหละครับ
ความคิดเห็นที่ 8
ตำรวจก็ถูกแล้ว เรื่องแรกไม่แน่ใจ แต่เรื่องขอดูใบ แล้วไม่ให้ หรือให้ช้า เค้าก็มีสิทเพิ่มข้อหาของเค้า
ตำรวจไม่ชอบพวกลีลา หัวหมอ หรอก



ติดสติ๊กเกอร์ ดำแค่ฝากระโปรงแบบนี้ผิดไหมครับ  พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. กล่าวไว้ประโยคนึงว่า "ส่วนรถที่มีการเปลี่ยนเพิ่มเติมเล็กๆ น้อยๆ นั้นไม่เป็นไร แต่อย่าให้เกิน 20 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ " ประโยคนี้ท่านได้กล่าวไว้ ซึ่งดูแล้วไม่เกิน 20% ของตัวรถครับ มองดูรถสีส่วนใหญ่ยังคงเป็นสีขาวครับ ถามพี่ที่ทำงานส่วนขนส่งบอกว่าไม่ต้องแจ้ง ถ้าติดหลังคาดำด้วยเกินกำหนดต้องแจ้งครับ เคยแย้งกับตำรวจไปครั้งนึงครับท่านเลยปล่อยมา


สรุป
          ก็ไปแจ้งให้ถูกต้องเป็นรถ 2 สีที่ขนส่ง ภายใน 7 วันหลังการทำสี

กฏหมายเกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถยนต์

  1. ป้ายทะเบียนยาวป้ายปลอมผิดแค่ไหน 
  • ป้าย ทะเบียน ที่นำมาตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายยาว ผิดข้อหาดัดแปลง เปลี่ยนแปลงเอกสารของทางราชการเจ้าหน้าที่มีสิทธิเรียกปรับ ระบุโทษไม่เกิน 2,000 บาท
  • รวมถึงการติดป้ายเอียง แบบแหงนขึ้น – แหงนลง มีวัสดุมาปิดทับ เจ้าหน้าที่อาจฟันธงว่า มองเห็นไม่ชัดเจนก็มีโทษปรับเช่นเดียวกัน
  • การ ไม่ติดป้าย หรือวางไว้ที่กระจกหน้ารถ ผิดเช่นกันต้องโทษปรับ 500 บาท
  • ส่วน การติดป้าย ที่ทำขึ้นเอง เช่นทำด้วยกระดาษ หรือใช้การเขียน แต่หมายเลขตรงกับทะเบียนรถ ผิดข้อหา ไม่ใช้เอกสารที่ทางราชการกำหนด
  • แต่ ถ้าเป็นป้ายปลอม (ไม่มี ข.ส. ) ขอดูสำเนาแล้วไม่ตรงกับป้าย ผิดต้องคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ เจ้าหน้าที่อาจจะเรียกปรับ หรือส่งฟ้องเพื่อทำการเรียกปรับที่ชั้นศาล โดยระบุโทษไว้ที่100,000 บาท (อ่านไม่ผิดหรอกครับ 1แสนบาท)
  • และถ้าหมายเลขป้ายไม่ตรงกับ ป้ายวงกลม ไม่ตรงกับสำเนารถเจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิยึดรถ เพื่อส่งเข้ากองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อหาที่มาของตัวรถและผู้ขับขี่ต้องไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ รวบรวมสำนวน ส่งให้ศาลตัดสินค่าปรับก็มีตั่งแต่หลักแสน จนถึงหลักล้านก็เคยมีมาแล้วครับ


2.โหลด เตี้ยๆหรือสุดๆ แบบ lowRider เตี้ยแค่ไหนถึงจะเรียกว่า ผิด
ในพระราช บัญญัติรถยนตร์พ.ศ.2522 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รถที่โหลดเตี้ยจะต่ำแค่ไหนก็ได้
ยึดหลักเพียงการวัดระยะกึ่งกลางไฟหน้า กับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าถือว่าผิด แต่ถ้าไฟหน้าสูงกว่าแต่รถใส่สปอยเลอร์จนเตี้ยต่ำแทบจะลากพื้น จะใช้กฎการพินิจ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจนายช่างตรวจสภาพกรมขนส่ง และผู้วินิจฉัยผล ต.ร.อ. ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ ถ้าฟันธงว่าเสี่ยงก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน


3. ยกสูง มากๆแบบ Big Foot ผิดหรือปล่าว
ใน พระราชบัญญัติรถยนตร์ก็ระบุไว้อย่าง ชัดเจนเช่นกันว่า จะยกสูงแค่ไหน แต่ต้องวัดระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร แต่ถ้าไฟหน้าสูงไม่เกิน แต่รถสูงมาก มีการดัดแปลงสภาพมากตัวนี้ต้องมีวิศวกรรองรับการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบกให้เป็นที่เรียบร้อยแต่ถ้าไม่สูงมาก แต่ใส่ยางใหญ่เกินแบบ ล้นออกมาข้างตัวรถมากๆ เกินบังโคลนล้อ ก็ต้องใช้หลักดุลพินิจอีกเช่นกันว่าเสี่ยงต่อผู้ร่วมใช้ถนนหรือไม่ ถ้าเสี่ยงผิดทันที


4. ใส่ล้อยางใหญ่มากๆ 19 - 20 หรือ 22 ผิดหรือไม่
ใน กฎหมายไม่มีการระบุขนาดของล้อและขนาดก็ไม่ได้มีผลการเสี่ยงต่อการเกิด อุบัติเหตุ ดังนั้น จะใส่ล้อใหญ่ขอบ 18 -19-20 หรือจะ 22 ไม่ผิดครับ แต่ถ้าใส่แล้วยางเกินออกมานอกบังโคลนล้อมากๆข้างละหลายๆนิ้ว เจ้าหน้าที่บอกว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อาจสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น(เช่นทำให้ผู้อื่นกะระยะรถผิดในขณะสวนหรือ เลี้ยว) ก็ถือว่าผิดได้ หรือใส่ล้อใหญ่จนต้องแบะล้อเพื่อหลบซุ้มแล้ววิ่งจนยางสึกเห็นผ้าใบ ต้องเรียกว่าเสี่ยงต่ออุบัติเหตุต่อตนเอง ก็ถือว่าผิดเช่นกัน

5. ตี โป่งขยายซุ้มล้อ ใส่สปอยเลอร์ แล้วจะผิดไหม
โชคดีครับที่การตีโป่งซุ้ม ล้อหรือที่เรียกกันว่า Wide Body ข้อนี้ในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนแต่อย่างไร
แต่ ระบุไว้ว่า ส่วนที่ตียื่นต้องมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวกับตัวรถ หรือถ้าเป็นวัสดุคนละชนิดกัน ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา ถ้าไม่แน่นหนาหรือตีโป่งมาก (ยื่นจนหน้าเกลียด) เจ้าหน้าที่มีสิทธิขอตรวจดูสำเนาการจดทะเบียน ว่ามีการดัดแปลงเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โดยอ้างอิงจากบริษัทผู้ผลิตถึงขนาดตัวรถ และฐานล้อ ซึ่งต้องใช้วิศวกรรับรองการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบก ถ้าขนส่งตรวจแล้วลงความเห็นว่าผ่านก็ดีไป แต่ถ้าลงความเห็นว่าไม่ผ่านต้องเลาะออกกลับสภาพเดิม

6. ฝากระโปรง หน้า–หลังดำ ฝากระโปรงไฟเบอร์ ที่เขาว่าผิด ผิดข้อไหน
เปลี่ยนฝากระโปรง ไฟเบอร์ถ้าทำเป็นสีเดียวกับสีรถ ที่จดทะเบียนไว้ถือว่าไม่ผิด
แต่ ถ้า เปลี่ยนสีฝากระโปรงเป็นสีดำ หรือสีอื่น ที่ไม่ตรงกับสีตัวรถเจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามกฎที่ว่า รถยนต์ที่จดทะเบียนจะมีการระบุสีตัวรถไว้อย่างชัดเจนไม่รวมสีของกันชนรถ โดยสีอื่นต้องมีไม่เกินครึ่งหนึ่งของสีหลักที่จดทะเบียนไว้ เช่นในกรณี รถระบุไว้ในทะเบียนว่าเป็นสีขาวแต่ฝากระโปรงหน้าเป็นสีดำ เจ้าหน้าพินิจแล้วไม่เกินครึ่งหนึ่งก็ถือว่าไม่ผิด แต่พินิจว่าผิดก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน (การพินิจหมายถึง การใช้หลักพิจรณาในแต่ละบุคล) แต่ถ้าดำทั้งฝากระโปรงหน้าและหลัง ส่วนมากจะพินิจว่าผิด เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของสีหลัก ซึ่งเจ้าของรถต้องนำรถเข้าไปแจ้งเปลี่ยนสี ว่าเป็นรถสองสี (ทูโทน) กับกรมขนส่งทางบกเสียก่อน ถ้าไม่แจ้งก็อาจต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เสียตังค์อีกเช่นกัน


7. เปลี่ยนท่อไอเสียใหญ่เสียงดังแค่ไหนถึงเรียก ว่าผิด
จะ เปลี่ยนท่อใหญ่ 3 นิ้ว 4 นิ้ว จะมีหม้อพักกี่ใบ หรือจะไม่หม้อพักเลยก็ได้แต่หม้อพักต้องปล่อยออกทางท้ายรถเท่านั้น (ยกเว้นเสียแต่พวกรถพ่วง รถโดยสารขนาดใหญ่)ถ้าออกข้างตัวถังรถก็ถือว่าผิดทันที
ตามกฎหมายจะระบุ ไว้แค่การวัดเสียงดังที่ปล่อยออกจากปลายท่อตามพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุว่า
รถ ยนต์ที่เกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ.สถานตรวจสภาพ เพื่อตรวจวัดระดับเสียง ที่ปลายท่อไอเสียด้วยเครื่อง Sound level Meter ผลที่ได้ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
(การตรวจวัดแบบ O.5 เมตร) สำหรับเครื่องยนต์เบนซิลวัดที่ ¾รอบที่ให้แรงม้าสูงสุด และรอบสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ถ้าท่านใดถูกจับในข้อหาเสียงท่อดัง คุณต้องถามเจ้าหน้าที่ว่าเสียงดังเกินที่กำหนดไว้เท่าไหร่ (ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่มีเครื่องวัดใช้หูฟัง ก็พอจะเถียงค่ำๆคูๆเอาตัวรอดได้) แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ส่งรถเข้าเครื่องตรวจวัดแล้วเกินจริง (เถียงไม่ออก) ก็ต้องโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท



8. ไฟหน้าหลายสี
ไฟซีนอน ไฟท้ายขาว โคมขาว โคมดำ พ่นสีดำ จะผิดแค่ไหน
ปัจจุบัน ไฟหน้าแบบซีนอน ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ จึงอนุญาตให้ติดได้ เพียงแต่ติดตั้งแล้วเมื่อเข้าเครื่องมือทดสอบโคมไฟ ลำแสงต้องมีองศาตกลงจากแนวระนาบ ไม่น้อยกว่า 2 องศาและต้องไม่เบนไปทางขวา ถึงเรียกว่าผ่าน สวนเรื่องสีของ แต่โคมไฟหน้าทางกรมกำหนดไว้เพียง2 สี เท่านั้นคือ สีเหลืองอ่อน และสีขาว ถ้าเป็นสีอื่น เช่นสีฟ้า สีม่วง สีเหลืองเข้มหรือสีเขียว มีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 มาตรา12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

9. ส่วนไฟหยุด (ไฟเบรก) ต้องเป็นสีแดง ไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลืองอำพัน ไฟส่องป้ายต้องเป็นสีขาวมองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตร การเปลี่ยนโคมไฟเป็นสีขาวหรือพ่นโคมเป็นสีดำ ต้องพิจารณาขณะเปิดไฟเลี้ยว ไฟเบรก ถ้าไฟที่แสดงออกมาชัดเจนและเป็นสีที่กำหนดก็ถือว่าผ่าน ถ้าผิดสีก็เตรียมเงินไว้อีก 2,000 บาท เป็นค่าปรับครับ

10. ไฟสปอร์ทไลท์และโคมไฟตัดหมอก ผิดกฎหมายหรือไม่ ติดอย่างไรถึงจะว่าไม่ผิด


  • โคม ไฟ สปอร์ทไลท์หมายถึงโคมไฟแสงพุ่งไกล แบบกระจายวงกว้าง แบบนี้ห้ามติดโดยเด็จขาดแม้จะมีฝาครอบปิด ผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
  • ส่วนไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟแสงพุ่งต่ำ ล่าสุดปี พ.ร.บ. 2536 อนุญาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลท์หรือ ไฟตัดหมอกเพิ่มได้ ข้างละ 1 ดวง (เท่ากับ 2 ดวง)ในระดับแนวเดียวกัน ความสูงจากพื้นถนนไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตรและไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร ต้องเป็นแสงสีเหลือง หรือสีขาว กำลังไฟไม่เกิน55 วัตต์ ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่า แนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา


  • ส่วนการเปิดไฟตัดหมอกนั้นทำได้เมื่อมีอุปสรรค์ใน การขับขี่ เช่นมีหมอกควัน หรือฝนตกหนัก มองเห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่สวนทางมาในระยะไม่เกิน 150 เมตร ถ้าติดไม่ถูกต้อง หรือเปิดไฟพร่ำเพื่อมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
  • รวมถึง การติดไฟนีออนใต้ท้อง หรือกรอบป้ายทะเบียน ก็เป็นสิ่งต้องห้าม ผิดอีกเช่นเดียวกันโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท


 11. ดัดแปลงเป็นขับเคลื่อน4 ล้อ ผิดแน่นอน แก้ไขอย่างไร
ตาม สมุดคู่มือการจดทะเบียนจะระบุ ไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นรถยนต์ประเภทไหน (รย.1 –รย. 2 หรือ รย.3) ซึ่งจะมีการระบุจำนวนเพลาไว้ด้วย รถยนต์ที่ขับเคลื่อน 2 ล้อ (2เพลา) ถ้ามีการดัดแปลงเป็นระบบขับสี่ล้อต้องแจ้งกับกรมการขนส่งเสียก่อน ซึ่งต้องใช้หลักฐาน ใบเสร็จอะไหล่
ใบรับรองวิศวกร นำรถเข้าตรวจหาความถูกต้องปลอดภัยแข็งแรง ก่อนที่อาจจะมีการส่งรถเข้าช่างน้ำหนัก ส่งต่อให้กรมสรรพสามิตคำนวณอัตราภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม มีตั้งแต่หลัก หลายพันจนถึงหลักหมื่นบาทเสียก่อน มิฉะนั้นจะถือว่า เป็นการดัดแปลงรถยนต์ให้ผิดจากการจดทะเบียนโดยมิได้ขออนุญาต ก็ผิดเต็มๆอยู่ดี

 





 
 12. เปลี่ยนดิสเบรกหลังใส่หลังคาซันรูป ผิดจริงหรือ
การ เปลี่ยนหลังคาซันรูปส่วนมากต้องมีการดัดแปลงเช่น การเจาะหลังคา หรือเปลี่ยนหลังคาใหม่แบบนี้ทางกรมขนส่งจะมองว่า เป็นการแก้ไขดัดแปลง ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของตัวรถ แบบนี้ต้องมีใบเสร็จหลังคา รูปถ่ายขั้นตอนการติดตั้ง และใบรับรองวิศวกร และต้องแจ้งกรมขนส่งทางบกก่อนถึงจะไม่ผิด
ส่วนการเปลี่ยนดรัมเบรก เป็นดิสเบรกหลัง เรื่องนี้ไม่มีกฎออกมาชัดเจนจึงอาศัยการพินิจจากเจ้าหน้าที่กรมขนส่ง ซึ่งแต่ละเขตขนส่งต่างก็มีดุลพินิจไม่เหมือนกัน ถ้าเจ้าหน้าที่พินิจว่าไม่น่าผ่านก็ต้องหาใบเสร็จติดตั้ง และใบวิศวกรมาแจ้งเช่นเดียวกัน 



13. ตีโรลบาร์แบบรถแข่ง ผิดด้วยหรือปล่าว

  • กฎหมายว่าด้วยห้องโดยสารมีเพียงข้อกำหนด เรื่องของจำนวนที่นั่ง มาตราวัดความเร็ว และไฟห้องโดยสารเท่านั้น 
  • ส่วนการตีโรลบาร์ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับจึงไม่ผิด แต่การถอดเบาะหลังออกแล้วตีโรลบาร์ จะผิดกฎหมายเรื่องการระบุลักษณะรถ และจำนวนตอน ถือว่าผิดครับ รวมถึงการความแน่หนา(เช่นเอามือจับแล้วโยก ได้) ความเสี่ยงต่ำการเกิดอุบัติเหตุ (เช่นมีส่วนแหลมคมพุ่งเข้าหาผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) ก็ถือว่าผิดได้อีกเช่นกัน ยิ่งถอดเบาะออกเหลือตัวเดียวหรือตัดตัวถังรถ ออกบางส่วน แล้วตีโรล์บาร์ยึดแบบ Spec Frame แบบนี้ถือว่าผิด ขอหาดัดแปลงสภาพที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ

 14. ใส่กระจกมอง ข้างแบบเล็กๆ หรือกระจกซิ่ง ผิดไหม
ตามกฎหมายอีกเช่นกันระบุไว้ว่า รถยนต์ต้องมีเครื่องส่องหลัง (กระจกมองหลัง) และเครื่องส่องหลังภายนอก (กระจกมองข้าง) อย่างน้อย 1 อัน ซึ่ง ไม่ได้ระบุถึงขนาดและรูปแบบ ถ้าเปลี่ยนเป็นกระจกมองข้างแบบไฟเบอร์ หรือแบบกระจกซิ่งทรงแข่ง ถ้ามี 2 ด้าน หรือด้านเดียวก็ถือว่าถูกกฎหมาย แต่ถ้าไม่มี กระจกมองข้าง หรือกระจกมองหลัง หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพ ฟันธงว่า มีเครื่องส่องหลังจริง แต่ชำรุดหรือมองเห็นไม่ชัดเจน (กระจกแตก เล็กมาก) ก็จะถือว่าผิด ต้องกลับมาแก้ไขอีกเช่นกัน



15. เปลี่ยนเบาะซิ่งใส่เซฟตี้เบล 4 จุด จะผิดอีกหรือปล่าว
เบาะ หรือที่นั่งผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ทาง พ.ร.บ. จริงๆแล้วได้ระบุขนาดความกว้างยาวของเบาะเอาไว้ด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องในการระบบุจำนวนผู้โดยสาร เบาะแต่ง หรือเบาะไฟเบอร์ ส่วนมากมีความถูกต้องในเรื่องขนาด แต่ถ้าถอดเบาะออกไม่ว่าเบาะหลัง ถอดเหลือตัวเดียว หรือสั่งทำเบาะขนาดใหญ่พิเศษแบบนี้จะถือว่าผิด ส่วนเซ พตี้เบล ทางกรมก็ได้ทำหนดมาตรฐานเอาไว้อีกเช่นกัน เบล 4 จุดแม้ว่าจะไม่ถูกต้องในเรื่องของมาตรฐาน แต่ถ้ามีการยึดแน่นหนา ก็อนุโลมว่าผ่าน แต่ถ้าใส่เบล 4 จุด 8 จุด แล้วไม่คาด แบบนี้ถือว่าไม่ผิดพระราชบัญญัติหรอกครับ แต่ผิดกฎหมายจราจรถูกจับ เสียทรัพย์ อีกแ้ล้วครับ

16. ดัดแปลงเครื่องยนต์ขยายซีซี เปลี่ยนเทอร์โบ โมกล่อง ซัก 1000 ม้า จะผิดหรือไม่

  • การขยายซีซีเพิ่ม ความจุถ้าเป็นในสนามแข่งแบบ OneMake Race ถือว่าผิด สั่งถอนการแข่งขันลูกเดียว (จบเกมส์) แต่ถ้าเป็นรถใช้งานบนท้องถนน การจะมาวัดกำลังอัด หาขนาดความจุนั้นทำได้ยาก จึงอาศัยการตรวจดูหมายเลขเครื่องยนต์ว่าถูกต้องตามทะเบียนที่แจ้งไว้หรือไม่เท่านั้น ถ้าเลขเครื่องถูกถือว่าไม่ผิด จะขยายความจุ เปลี่ยนลูก ยืดข้อ เสริมเสื้อสูบก็ไม่ผิด หรือไม่ว่าจะเปลี่ยนเทอร์โบใหญ่ ใส่กรองเปลือย ตีเฮดเดอร์ เปลี่ยนหัวฉีด โมกล่องจนได้ 500 ม้า 1000 ม้าก็ไม่ผิด เพียงแต่อุปกรณ์ภายในห้องเครื่องต้องดูแล้วแน่หนาและมีความปรอดภัย


  • แต่ ถ้าจูนน้ำมันจนหนามาก เจ้าหน้าที่จะใช้ผลการตรวจวัดควันดำ ค่า CO (คาร์บอนมอนออกไซต์) และค่า HC (ไฮโดรคาร์บอน) ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียเป็นข้อกำหนดถึงสภาพเครื่องยนต์
โดยตามพระราช บัญญัติรถยนต์ กล่าวว่า
รถยนต์ที่จดทะเบียนก่อน 1 พค 2536 ต้องวัดค่า Co ไม่เกิน 4.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 600 PPM
รถยนต์ที่จด ทะเบียนหลัง 1 พค 2536 ต้อง วัดค่า Co ไม่เกิน 1.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 200 PPM


  • ส่วนถ้าเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซลไม่ว่าจะเปลี่ยนโบ ใหญ่ แต่งปั้มเพียงใด มาตรฐานการวัดควันดำ ต้องไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบกระดาษกรอง และ 45 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบหาความทึบแสง
ซึ่งรถยนต์ที่มีอายุเกิน7 ปี ต้องได้รับการตรวจวัดค่า Co และ Hc จาก ต.ร.อ
ดังนั้นจะโมเครื่องแค่ไหน แต่งเครื่องอย่างไร ถ้าการเผาไหม้หมดจด Co และ Hc ผ่านก็ถือว่าถูกกฎหมาย
ถึงจะแต่งรถถูกกฎหมาย แต่ถ้าเอารถ 500 ม้า 1000 ม้า มาวิ่งหวาดเสียวบนท้องถนน หรือไล่แซงผู้อื่นแบบแข่งขัน แบบนี้ของเพียงอย่าให้ถูกจับได้ ซึ่งอาจมีความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43( , 160 วรรคสาม ฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ถูกจับฟ้องศาล ยึดรถ คุมความประพฤติ แบบนี้อาจเรียกว่า จบเกมส์จริงๆ ใช่ไหมล่ะครับ

ชาวกระโปรงดำที่ต้องการจดทะเบียนเปลี่ยนสีรถเป็นทูโทน

สำหรับชาวกระโปรงดำที่ต้องการจดทะเบียนเปลี่ยนสีรถเป็นทูโทนทั้งหลาย โปรดฟังทางนี้.. 
คำแนะนำคือ
 


- ไปแต่เช้าๆ   เพราะช่วงนี้มีรถไปขอจดทะเบียนแจ้งเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากน้ำมัน เป็น  น้ำมัน+แก็ส  กันเยอะมากๆ เรียกว่าคิวยาวแต่เช้า   

 ไปถึงขนส่งเขตบางจาก พระโขนงตอน 8.30  เห็นรถต่อคิว 2 แถว ต่อกันรอเข้าสตรวจสภาพรถ     แม้ว่าเราจะแจ้งแค่เปลี่ยนสีรถ ก็ต้องเข้าไปตรวจสภาพจากกรมขนส่งเท่านั้น!!!   ไม่สามารถไปตรวจที่ ตรอ.  เหมือนตอนต่อภาษีได้
 

- แนะนำว่าไปกันสัก 2 คนได้ก็จะดี  คนหนึ่งขับไปรอคิวไว้เลย อีกคนไปขอพวกเอกสารคือ  แบบคำขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนรถ  โดยติดต่อขอได้ที่เคาร์เตอร์ประชาสัมพันธ์
- เตรียมเอกสารรถเราให้พร้อม  คือ   

                       1. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ  
                       2.สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของรถ 
                       3.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ   และถ้ากรณีไม่ใช่เจ้าของรถ ก็ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ เซ็นต์มาให้เรียบร้อย (เซ็นสำเนาเอกสารเจ้าของรถมาให้เรียบร้อย)  และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ    

และไปติดต่อชั้น 2 ซื้อากรแสตมป์ 10 บาทมาติด ที่หนังสือมอบอำนาจ   และที่สำคัญลืมไม่ได้คือ เล่มทะเบียนรถ และ  ***ใบเสร็จ หรือบิลเงินสดค่าทำสีรถ อย่างของผมฝากระโปรงดำ ไม่ได้เตรียมบิลไป เจ้าหน้าที่่กระซิบๆว่า ให้ไปซื้อบิลเงินสดลงค่าทำสีรถมา  และที่สำคัญอีกอย่างคือบิลเงินสดต้องลงวันที่ไม่เกิน 7 วันที่มายื่นเรื่องเท่านั้น ถ้าเกินกว่านั้นจะโดนค่าปรับประมาณ 200 บาท   ส่วนบิลเงินสดถ้าใครไม่ได้เตรียมไป ก็ลองไปถามๆพวกร้านค้าหรือร้านถ่ายเอกสารแถวขนส่งนั้นๆดูนะครับ มาเขียนเอา 
 

-กรอก เอกสารเสร็จแล้ว ไปต่อคิวรอตรวจสภาพตามคิว จะมีเจ้าหน้าที่คอยโบกๆ รถติดรอบตึกขนส่งเป็นวงกลมเลย  Smiley   และไปถึงจุดตรวจ เปิดฝากระโปรงไว้ให้เจ้าหน้าที่มาขูดเลขตัวถังรถ    ไม่ต้องเปิดกระโปรงหลังเหมือนรถแก็สนะครับ เหอๆ บอกเจ้าหน้าที่เค้าเลยว่าแค่มาแจ้งเปลี่ยนสีรถ   
 

- หลังเจ้าหน้าที่ขูดเลขเสร็จ จะให้เอาเอกสารใบคำขอไปยื่นที่เคาร์เตอร์แถวๆนั้น แล้วรอเค้าเรียก  ตรงจุดนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
 



-ได้ เอกสารจากฝ่ายตรวจสภาพเสร็จแล้ว เค้าจะให้ขึ้นไปติดต่อชั้น 2 ที่ฝ่ายรับเรื่อง  ไปยื่นเอกสารทั้งหมดที่ผมบอก แนบไปทั้งหมดที่่เคาร์เตอร์รับเอกสาร(อย่าลืมบิลหรือใบเสร็จค่าทำสีแนบไป ด้วย แล้วก็ซื้ออากรแสตมป์ติดที่ใบเสร็จด้วย ผมจำไม่ได้แล้ว 1 บาทหรือ 5 บาท ) แล้วรอเรียกจากเจ้าหน้าที่
 

- เสียค่าธรรมเนียมอีก 55 บาท  เป็นอันเสร็จเรียบร้อย  โรงเรียนขนส่ง  Smiley  เบ็ดเสร็จใช้เวลาตั้งแต่ 8.30-11.00 พอดี   
ใคร จะไปแจ้งช่วงนี้ทำใจหน่อยครับ คิวยาว คิดว่าน่าจะเป็นทุกขนส่ง เพราะคนติดแก็สแห่กันมาจด  เลยต้องไปแจมกับเค้า   แต่ใครกำลังจะจด ก็วางแผนให้ดีๆครับ ทำให้เสร็จ ๆไปทีเดียวเลย  ไปทั้งที ครึ่งวัน เอาให้คุ้ม กินข้าวไปให้อิ่มๆ  ถ่ายเอกสารไปให้พร้อม จะได้ไม่เสียเวลาแบบผม   


ที่มา: http://www.lancer-club.net/forum/index.php?topic=46847.0