วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562

มีบ้างครับที่ติดต่อผมมาแล้วมีปัญหา โดยเฉพาะรถที่ทะเบียน จังหวัดสงขลา ผมไม่รับทำให้นะครับ เนื่องจากจังหวัดนี้มีเจ้าที่ครับ

รถที่ทะเบียน จังหวัดสงขลา ผมไม่รับทำให้นะครับ เนื่องจากจังหวัดนี้มีเจ้าที่ครับ

ทำให้ท่านก็ไม่ผ่านหรอกครับต้องไปทำกับเจ้าที่ถึงจะผ่าน ไปสอบถามกันเอาเองนะครับ



























วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Update เซ็นต์รับรองหลังคา SUNROOF อีกหนึ่ง งานเนี๊ยบสวยงามครับ

Update เซ็นต์รับรองหลังคา SUNROOF MITSUBISHI GALANT GTI 2.0






รับออกเอกสารรับรองความปลอดภัยรถยนต์ดัดแปลง สำหรับแจ้งลงเล่มกับกรมการขนส่งทางบก ทั่วประเทศ
บริการเซ็นต์รับรอง รถดัดแปลงสภาพ โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล 
#โหลดเตี้ย #ยกสูง #Sunroof #เปลี่ยนหัวเก๋ง #ตัดต่่อแซชซี #เสริมแหนบ #เพลาลอย #เปลี่ยนเกียร์

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ดัดแปลงสภาพรถ ... ข้อหาบางๆที่นักแต่งรถขยาดจริงๆ

CREDIT: www.Autodeft.com 


กลายเป็นประเด็นขึ้นมากับสีกากี กันอีกแล้ว หลังจากมีคนขอท้าชนเจ้ากน้าที่ตำรวจในการเปิดโปงความจริงการจับกุมรถยนต์บรรทุกการพาณิชย์ โดยถ่ายทอดสดออกทางสื่อสังคมออนไลน์

ที่มาที่ไปของการจับกุมดังกล่าวอาจจะไม่ชัดเจนนัก แต่ข้อกฎหมายหนึ่งที่ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์กันสูง ก็หนีไม่พ้นข้อหา “ดัดแปลงสภาพรถ” ที่ถูกนำมาพูดถึงต่อกรณีดังกล่าว โดยเฉพาะการดัดแปลงสภาพรถด้วยการเสริมแหนบและเพิ่มจำนวนโช๊คอัพเพื่อรองรับการบรรทุกมากยิ่งขึ้น ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ข้อหา ดัดแปลงสภาพรถยนต์ เป็นเรื่องที่มีการพูดถึงมายาวนาน และเป็นที่ขยายของนักแต่งรถยนต์ทั้งหลายที่ชื่นชอบการปรับปรุงตัวรถให้สวยงาม บ้างเสริมสมรรถนะในการขับขี่เพื่อให้มีความปลอดภัย และหรือสอดคล้องกับความต้องการของตัวเองมากขึ้น คำถามสำคัญที่มักเป็นประเด็นก็หนีไม่พ้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างไร ที่ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย..
แต่งรถไม่ผิดกฎหมาย ถ้าไม่ล้ำเส้น
สิทธิในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวรถเป็นของเจ้าของรถยนต์หรือพวกเราเอง แต่ทั้งหมดนั้นยังถูกจำกัดสิทธิในการปรับปรุงด้วยพระราชบัญญัติรถยนต์  พ.ศ.  2522  มันตราออกมาเพื่อบอกว่ารถยนต์ที่สามารถใช้ในทางตามประมวลกฎหมายการจราจรทางบก พ.ศ.  2522  ต้องมีคุณลักษณะใดบ้าง และข้อเกี่ยวเนื่องที่สำคัญกับคุณลักษณะรถยนต์ในเรื่องการดัดแปลงสภาพรถยนต์ท ตำรวจมักหยิบยกเอามาเป็นข้อหาจับคุณก็มาจากมาตรา 14 
ตามาตร 14   ใน  พระราชบัญญัติรถยนต์  พ.ศ.  2522  ระบุไว้ว่า  ถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วน หนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนํารถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อน
โดยนอกจากมาตรา 14 แล้ว ยังมีการเกี่ยวเนื่องกับมาตรา 12 ระบุว่า รถใดที่จะทะเบียนแล้ว หากปรากฏว่าภายหลังรถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถไม่ถูกต้องตามกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกแล้ว
ตลอดจน ในมาตรา 15 ยังระบุว่า   ในกรณีที่นายทะเบียนหรือผู้ตรวจการเห็นว่ารถใดในขณะที่ใช้มี ลักษณะที่เห็นได้ว่าน่าจะไม่ปลอดภัยในการใช้ให้มีอํานาจสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของรถนํารถนั้นไปให้นายทะเบียน หรือสถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกตรวจสภาพภายในเวลาที่กําหนดได้
ตามข้อกฎหมายดังกล่าว จะเห็นว่า ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการดัดแปลงสภาพรถยนต์ เป็นเจ้าหน้าที่ขนส่งโดยตรง แต่ในระยะหลังทางกรมการขนส่งได้ มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาควบคุมดูแล ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง  มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานตำรวจเปรียบเทียบความผิด ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มีโทษปรับสถานเดียว
เข้าใจให้ถูก ...ดัดแปลงสภาพรถ
เมื่อมองตามกฎหมายที้ดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น เชื่อว่า คุณน่าจะเห็นส่วนสำคัญ คือการใช้คำว่า ส่วนควบและรายการที่จดทะเบียน
ส่วนควบ คือ อะไร .....  ส่วนควบคือ สิ่งที่รถยนต์ต้องมีในรถยนต์ที่คุณใช้ บนถนน และหากไม่มีถือว่ามีความผิด ตามพระราชบัญญัติส่วนควบและอุปกรณ์สำหรับรถยนต์ พ.ศ. 2551 ..  โดยรายละเอียดใน พรบ. ฉบับนี้อ่านเข้าใจง่าย หลักๆ คือการบรรยายลักษณะรถ ที่ถูกฎหมายและสามารถใช้งานได้ในราชอาณาจักรไทย
อีกรายการที่ผมพูดถึงไป คือ รายการจดทะเบียน กล่าวคือรายที่ทางนายทะเบียนขนส่ง จดลักษณะของรถยนต์ไว้ เพื่อใช้เป็นการขึ้นทะเบียนเกี่ยวกับตัวรถยนต์ และใช้ชำระภาษีอากรประจำปี
ในรายการนี้ คุณสามารถดูได้จากสมุดทะเบียนรถ หรือบนสำเนาทะเบียนรถ คุณจะเห็นว่า หลักๆ คือ ชื่อยี่ห้อรถ หมายเลขตัวถัง  เครื่องยนต์ เลขเครื่องยนต์  ลักษณะเครื่องยนต์ จำนวนสูบและซีซี เครื่องยนต์  นอกจากที่กล่าวไปแล้ว ยังมีจำนวนเพลา ล้อและยาง รวมถึง น้ำหนักตัวรถ และ น้ำหนักรวม ...
ปัญหาข้อหาสำคัญ “ดัดแปลงสภาพรถ” มักจะเริ่มต้นด้วยความไม่รู้ของประชาชนทั่วไป ที่ไม่ได้ศึกษากฎหมายอย่างจัง แบบทนาย ตำรวจ หรือ ผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวข้อกับทางกฎหมาย จนกลายมาเป็นช่องโหว่ที่สำคัญให้ตำรวจใช้พูดกับประชาชน จนฟังดูพวกเขาผิด จนหลายครั้งสามารถกอบโกยค่าปรับเป็นรายได้เป็นกอบเป็นกำ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ ดูตามความคิดพวกเขาว่ามันน่าจะผิดฏหมาย และจัดข้อหาดัดแปลงสภาพรถ ที่ฟังดูจริงจัง จนหลายคนหลงเชื่อ ทั้งที่เพียงคุณรู้เท่าทันก็สามารถรอดพ้นจากเจ้าหน้าที่ได้
เบิ้ลโช๊ค ผิดกฎหมาย ดัดแปลงสภาพรถ...จริงหรือ
ในกรณีที่มีการเผยแพร่ภาพผ่านทาง   Social   จะเห็นได้ว่า ข้อการดัดแปลงสภาพรถ นั้นถูกพูดถึงเรื่องการเสริมแหนบ และเบิ้ลโช๊ค ซึ่งเป็นการเพิ่มความสามารถทางเทคนิคของตัวรถ ผมลองมาดูประมวล พระราชบัญญัติส่วนควบและอุปกรณ์สำหรับรถยนต์ พ.ศ. 2551 พบ วงเล็บ 7 ตามข้อ 3 ของ กฎกระทรวงดังกล่าว ระบุถึงระบบรองรับน้ำหนัก ซึ่งก็น่าจะหมายถึงระบบกันสะเทือน หรือ ระบบช่วงล่างว่า สามารถรองรับการสั่นสะเทือน และรองรับน้ำหนักขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
ส่วนตามรายการจดทะเบียน ก็มีการชี้ชัดอยู่แล้วว่า รถยนต์ที่จะทะเบียน จะมีอัตราน้ำหนักบรรทุกเท่าไร มีจำนวนเพลาะและล้อยางเท่าไร เท่านั้น
ถามว่าการเสริมแหนบเบิ้ล โช๊ค ผิดจากรายการจดทะเบียนหรือไม่ ถ้ามองๆ กันเผินๆ ก็คงจะไม่ได้ผิดอะไร พราะว่าในรายการจะทะเบียน จะระบุเพียงจำนวนล้อยาง และเพลาที่ใช้ แต่ไม่ได้ระบุคุณลักษณะของระบบช่วงล่างที่ชัดเจน เช่นรูปแบบระบบ อาทิ ระบบกันสะเทือนแบบแม็คเฟอร์สันสตรัท หรือใช้ จำนวนโช๊คกี่ต้น ในรถยนต์คันดังกล่าว
ทว่าเมื่อไม่นานมานี้ มีประกาศจากกรมการขนส่ง เรื่อง การดัดแปลงแก้ไขสภาพรถ และการติดตั้งอุปกรณ์ตบแต่งรถยนต์หรืออุปกรณ์ความสะดวกต่างๆ ตามหนังสือที่มีออกมาดังกล่าว มีการระบุชัดว่า รายการที่จำเป็นต้องแจ้งต่อนายทะเบียน  ได้แก่ เปลี่ยนเครื่องยนต์ ,เปลี่ยนสี ,ติดตั้งโครงหลังคาหรือโครงเหล็กด้านข้างรถ ,ฝาปิดด้านท้ายติดตั้งอุปกรณ์ทุ่นแรงยกสิ่งของ ,เปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง ตลอดจน แก้ไขดัดแปลงตัวถังรถ ระบบรองรับน้ำหนัก ระบบกันสะเทือน ระบบบังคับเลี้ยว ระบบขับเคลื่อน
นั่นหมายความถึงหากมีการดัดแปลง ระบบช่วงล่าง จะเป็นต้องมีการแจ้งนายทะเบียน หมายถึงกรณีกระบะเบิ้ลโช๊คทุกรณีถือว่า มีความผิดตามการดัดแปลงสภาพรถยนต์ ...
และหากมองให้ลึก การดัดแปลงดังกล่าว ทำให้รถคันดังกล่าวมีความสามารถในการบรรทุกเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ทางผู้ผลิตชี้ว่าเหมาะสมต่อการใช้งานอย่างปลอดภัย อาทิ  Ford  มีการเผยข้อมูลว่า  Ford Ranger   สามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้ถึง 1.3 ตันเป็นต้น แต่ถ้าผู้ใช้ไปเสริมสมรรถนะด้วยการเบิ้ลโช๊ค เสริมแหนบ อาจจะรองรับน้ำหนักได้ถึง 2 ตัน   และการทำให้ประสิทธิภาพการบรรทุกเพิ่มขึ้น ก็ถือว่า ผิดจากสาระสำคัญในรายการจดทะเบียน ที่มีการระบุอัตราน้ำหนักบรรทุกไว้อย่างชัดแจ้ง
ดัดแปลงหรือไม่ ใครตัดสิน ...ขอเพียงคุณรู้จริงก็รอดได้
การดัดแปลงสภาพรถ ฟังแล้วบางทีก็ว่าใกล้เคียงกับการแต่งรถ บางคนว่าเป็นเรื่องของกฎหมายบางๆ ระหว่างความชอบและสิทธิส่วนบุคคลในการทำรถยนต์ของพวกเขาตามสิทธิที่พึงมี
สำหรับเจ้าหน้าที่คงต้องกล่าวว่ามันเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ในการควบคุมดูแลกฎหมายให้เป็นไปตามความอันสมควร ตามที่ทางกรมการขนส่งได้มอบหมายให้มาดำเนินการ
ปัญหาที่คุณอาจจะอยากรู้คือแบบไหน น่าจะเข้าข่ายดัดแปลงสภาพ ผมเองก็คงไม่สามารถฟันธงได้ทุกรณี เนื่องจากส่วนหนึ่งของกฎหมายไทยมักไปขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที จนกลายเป็นเส้นบางๆ ระหว่างแต่งรถอย่างถูกฎหมาย กับการดัดแปลงสภาพรถ ซึ่งหากคุณเป็นนักแต่งรถตัวยง คง จะต้องศึกษากฎหมายส่วนควบเอาไว้บ้าง จะได้ต่อล้อต่อเถียงเจ้าหน้าที่ได้บ้าง ว่าคุณมิได้ทำผิดกฎหมายตามดุลพินิจของท่าน ทว่าไม่ว่าคุณจะแต่งรถสไตล์ไหนชอบแบบใด ให้คำนึกถึงเรื่องความปลอดภัย หรือ ติดตั้งส่วนควบหรืออุปกรณ์ใดที่ อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ตามมาตร 15 และ 12 ของ พระราชบัญญัติรถยนต์ ... ผมเชื่อว่าตำรวจ ก็คงไม่อยากเสียเวลาข้อแวะกับคุณหรอกครับ
แต่น่าจะดีกว่า ถ้ามีกระบุคุณลักษณะ รถยนต์ที่เข้าค่ายการดัดแปลงสภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รู้ทราบบบทั่วกัน และเจ้าหน้าที่ใช้เป้นมาตรฐานสำคัญในการปฏิบัติงาน
การแต่งรถกับดัดแปลงสภาพรถ อาจจะเป็นความเหมือนที่แตกต่างกันว่าผิด หรีอไม่ผิดกฎหมายประการใด หากวันนี้คุณเรียนรู้กฎหมาย เข้าใจมันถูกต้อง และเจรจาอย่างมทีชั้นเชิงหากถึงคราวเข้าตาจน ข้อหาดัดแปลงสภาพรถ ก็อาจจะข้องแวะกับคุณน้อยลง ..แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจเจ้าหน้าที่ตำรวจคนนั้นๆ ด้วย

CREDIT เรื่อง โดย ดินน้ำมัน

กฎหมายเกี่ยวกับการดัดแปลงรถยนต์

กฎหมายเกี่ยวกับการดัดแปลงรถยนต์

ป้ายทะเบียนยาวป้ายปลอมผิดแค่ไหน
              ป้ายทะเบียนที่นำมาตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายยาว ผิดข้อหาดัดแปลง เปลี่ยนแปลงเอกสารของทางราชการเจ้าหน้าที่มีสิทธิเรียกปรับ ระบุโทษไม่เกิน 2,000 บาท รวมถึงการติดป้ายเอียง แบบแหงนขึ้น – แหงนลง มีวัสดุมาปิดทับ เจ้าหน้าที่อาจฟันธงว่า มองเห็นไม่ชัดเจนก็มีโทษปรับเช่นเดียวกัน
การไม่ติดป้าย หรือวางไว้ที่กระจกหน้ารถ ผิดเช่นกันต้องโทษปรับ 500 บาท
             ส่วนการติดป้าย ที่ทำขึ้นเอง เช่นทำด้วยกระดาษ หรือใช้การเขียน แต่หมายเลขตรงกับทะเบียนรถ ผิดข้อหา ไม่ใช้เอกสารที่ทางราชการกำหนด แต่ถ้าเป็นป้ายปลอม (ไม่มี ข.ส. ) ขอดูสำเนาแล้วไม่ตรงกับป้าย ผิดต้องคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ เจ้าหน้าที่อาจจะเรียกปรับ หรือส่งฟ้องเพื่อทำการเรียกปรับที่ชั้นศาล โดยระบุโทษไว้ที่100,000 บาท (อ่านไม่ผิดหรอกครับ 1แสนบาท) และถ้าหมายเลขป้ายไม่ตรงกับ ป้ายวงกลม ไม่ตรงกับสำเนารถเจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิยึดรถ เพื่อส่งเข้ากองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อหาที่มาของตัวรถและผู้ขับขี่ต้องไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ รวบรวมสำนวน ส่งให้ศาลตัดสินค่าปรับก็มีตั่งแต่หลักแสน จนถึงหลักล้านก็เคยมีมาแล้วครับ

โหลดเตี้ยๆหรือสุดๆ แบบ lowRider เตี้ยแค่ไหนถึงจะเรียกว่า ผิด
             ในพระราชบัญญัติรถยนตร์พ.ศ.2522 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รถที่โหลดเตี้ยจะต่ำแค่ไหนก็ได้  ยึดหลักเพียงการวัดระยะกึ่งกลางไฟหน้า กับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าถือว่าผิด  แต่ถ้าไฟหน้าสูงกว่าแต่รถใส่สปอยเลอร์จนเตี้ยต่ำแทบจะลากพื้น จะใช้กฎการพินิจ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจนายช่างตรวจสภาพกรมขนส่ง และผู้วินิจฉัยผล ต.ร.อ. ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ ถ้าฟันธงว่าเสี่ยงก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน

ยกสูงมากๆแบบ Big Foot ผิดหรือไม่
             ในพระราชบัญญัติรถยนตร์ก็ระบุไว้อย่างชัดเจนเช่นกันว่า จะยกสูงแค่ไหน แต่ต้องวัดระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร แต่ถ้าไฟหน้าสูงไม่เกิน แต่รถสูงมาก มีการดัดแปลงสภาพมากตัวนี้ต้องมีวิศวกรรองรับการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบกให้เป็นที่เรียบร้อยแต่ถ้าไม่สูงมาก แต่ใส่ยางใหญ่เกินแบบ ล้นออกมาข้างตัวรถมากๆ เกินบังโคลนล้อ ก็ต้องใช้หลักดุลพินิจอีกเช่นกันว่าเสี่ยงต่อผู้ร่วมใช้ถนนหรือไม่ ถ้าเสี่ยงผิดทันที

ใส่ล้อยางใหญ่มากๆ 19 - 20 หรือ 22 ผิดหรือไม่​
             ในกฎหมายไม่มีการระบุขนาดของล้อและขนาดก็ไม่ได้มีผลการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น จะใส่ล้อใหญ่ขอบ 18 -19-20 หรือจะ 22 ไม่ผิดครับ แต่ถ้าใส่แล้วยางเกินออกมานอกบังโคลนล้อมากๆข้างละหลายๆนิ้ว เจ้าหน้าที่บอกว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อาจสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น(เช่นทำให้ผู้อื่นกะระยะรถผิดในขณะสวนหรือเลี้ยว) ก็ถือว่าผิดได้ หรือใส่ล้อใหญ่จนต้องแบะล้อเพื่อหลบซุ้มแล้ววิ่งจนยางสึกเห็นผ้าใบ ต้องเรียกว่าเสี่ยงต่ออุบัติเหตุต่อตนเอง ก็ถือว่าผิดเช่นกัน

ตีโป่งขยายซุ้มล้อ ใส่สปอยเลอร์ แล้วจะผิดหรือไม่
             การตีโป่งซุ้มล้อหรือที่เรียกกันว่า Wide Body ข้อนี้ในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนแต่อย่างไร  แต่ระบุไว้ว่า ส่วนที่ตียื่นต้องมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวกับตัวรถ หรือถ้าเป็นวัสดุคนละชนิดกัน ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา ถ้าไม่แน่นหนาหรือตีโป่งมาก (ยื่นจนหน้าเกลียด) เจ้าหน้าที่มีสิทธิขอตรวจดูสำเนาการจดทะเบียน ว่ามีการดัดแปลงเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โดยอ้างอิงจากบริษัทผู้ผลิตถึงขนาดตัวรถ และฐานล้อ ซึ่งต้องใช้วิศวกรรับรองการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบก ถ้าขนส่งตรวจแล้วลงความเห็นว่าผ่านก็ดีไป แต่ถ้าลงความเห็นว่าไม่ผ่านต้องเลาะออกกลับสภาพเดิม

ฝากระโปรงหน้า–หลังดำ ฝากระโปรงไฟเบอร์ ที่เขาว่าผิด ผิดข้อไหน
              เปลี่ยนฝากระโปรงไฟเบอร์ถ้าทำเป็นสีเดียวกับสีรถ ที่จดทะเบียนไว้ถือว่าไม่ผิด  แต่ถ้าเปลี่ยนสีฝากระโปรงเป็นสีดำ หรือสีอื่น ที่ไม่ตรงกับสีตัวรถเจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามกฎที่ว่า รถยนต์ที่จดทะเบียนจะมีการระบุสีตัวรถไว้อย่างชัดเจนไม่รวมสีของกันชนรถ โดยสีอื่นต้องมีไม่เกินครึ่งหนึ่งของสีหลักที่จดทะเบียนไว้  เช่นในกรณีรถระบุไว้ในทะเบียนว่าเป็นสีขาวแต่ฝากระโปรงหน้าเป็นสีดำ เจ้าหน้าพินิจแล้วไม่เกินครึ่งหนึ่งก็ถือว่าไม่ผิด แต่พินิจว่าผิดก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน (การพินิจหมายถึง การใช้หลักพิจรณาในแต่ละบุคล)  แต่ถ้าดำทั้งฝากระโปรงหน้าและหลัง ส่วนมากจะพินิจว่าผิด เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของสีหลัก ซึ่งเจ้าของรถต้องนำรถเข้าไปแจ้งเปลี่ยนสี ว่าเป็นรถสองสี (ทูโทน) กับกรมขนส่งทางบกเสียก่อน ถ้าไม่แจ้งก็อาจต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เสียตังค์อีกเช่นกัน

เปลี่ยนท่อไอเสียใหญ่เสียงดังแค่ไหนถึงเรียกว่าผิด​
               จะเปลี่ยนท่อใหญ่ 3 นิ้ว 4 นิ้ว จะมีหม้อพักกี่ใบ หรือจะไม่หม้อพักเลยก็ได้แต่หม้อพักต้องปล่อยออกทางท้ายรถเท่านั้น (ยกเว้นเสียแต่พวกรถพ่วง รถโดยสารขนาดใหญ่)ถ้าออกข้างตัวถังรถก็ถือว่าผิดทันที  ตามกฎหมายจะระบุไว้แค่การวัดเสียงดังที่ปล่อยออกจากปลายท่อตามพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุว่า
รถยนต์ที่เกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ.สถานตรวจสภาพ เพื่อตรวจวัดระดับเสียง ที่ปลายท่อไอเสียด้วยเครื่อง Sound level Meter ผลที่ได้ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล (การตรวจวัดแบบ O.5 เมตร) สำหรับเครื่องยนต์เบนซิลวัดที่ ¾รอบที่ให้แรงม้าสูงสุด และรอบสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ถ้าท่านใดถูกจับในข้อหาเสียงท่อดัง คุณต้องถามเจ้าหน้าที่ว่าเสียงดังเกินที่กำหนดไว้เท่าไหร่ (ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่มีเครื่องวัดใช้หูฟัง ก็พอจะเถียงค่ำๆคูๆเอาตัวรอดได้) แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ส่งรถเข้าเครื่องตรวจวัดแล้วเกินจริง (เถียงไม่ออก) ก็ต้องโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ไฟซีนอนไฟท้ายขาว โคมขาว โคมดำ พ่นสีดำจะผิดแค่ไหน
           ปัจจุบันไฟหน้าแบบซีนอน ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ จึงอนุญาตให้ติดได้ เพียงแต่ติดตั้งแล้วเมื่อเข้าเครื่องมือทดสอบโคมไฟ ลำแสงต้องมีองศาตกลงจากแนวระนาบ ไม่น้อยกว่า 2 องศาและต้องไม่เบนไปทางขวา ถึงเรียกว่าผ่าน สวนเรื่องสีของ แต่โคมไฟหน้าทางกรมกำหนดไว้เพียง2 สี เท่านั้นคือ สีเหลืองอ่อน และสีขาว ถ้าเป็นสีอื่น เช่นสีฟ้า สีม่วง สีเหลืองเข้มหรือสีเขียว มีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 มาตรา12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 
            ส่วนไฟหยุด (ไฟเบรก) ต้องเป็นสีแดง ไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลืองอำพัน ไฟส่องป้ายต้อเป็นสีขาวมองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตร การเปลี่ยนโคมไฟเป็นสีขาวหรือพ่นโคมเป็นสีดำ ต้องพิจารณาขณะเปิดไฟเลี้ยว ไฟเบรก ถ้าไฟที่แสดงออกมาชัดเจนและเป็นสีที่กำหนดก็ถือว่าผ่าน ถ้าผิดสีก็เตรียมเงินไว้อีก 2,000 บาท เป็นค่าปรับครับ

ไฟสปอร์ทไลท์และโคมไฟตัดหมอก ผิดกฎหมายหรือไม่ ติดอย่างไรถึงจะว่าไม่ผิด
           โคมไฟสปอร์ทไลท์หมายถึงโคมไฟแสงพุ่งไกล แบบกระจายวงกว้าง แบบนี้ห้ามติดโดยเด็จขาดแม้จะมีฝาครอบปิด ผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟแสงพุ่งต่ำล่าสุดปี พ.ร.บ. 2536 อนุญาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลท์หรือ ไฟตัดหมอกเพิ่มได้ ข้างละ 1 ดวง (เท่ากับ 2 ดวง)ในระดับแนวเดียวกัน ความสูงจากพื้นถนนไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตรและไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร ต้องเป็นแสงสีเหลือง หรือสีขาว กำลังไฟไม่เกิน55 วัตต์ ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
           ส่วนการเปิดไฟตัดหมอกนั้นทำได้เมื่อมีอุปสรรค์ในการขับขี่ เช่นมีหมอกควัน หรือฝนตกหนัก มองเห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่สวนทางมาในระยะไม่เกิน 150 เมตร ถ้าติดไม่ถูกต้อง หรือเปิดไฟพร่ำเพื่อมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท รวมถึงการติดไฟนีออนใต้ท้อง หรือกรอบป้ายทะเบียน ก็เป็นสิ่งต้องห้าม ผิดอีกเช่นเดียวกันโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ดัดแปลงเป็นขับเคลื่อน4 ล้อ ผิดแน่นอน แก้ไขอย่างไร
            ตามสมุดคู่มือการจดทะเบียนจะระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นรถยนต์ประเภทไหน (รย.1 –รย. 2 หรือ รย.3)ซึ่งจะมีการระบุจำนวนเพลาไว้ด้วย รถยนต์ที่ขับเคลื่อน 2 ล้อ (2เพลา) ถ้ามีการดัดแปลงเป็นระบบขับสี่ล้อต้องแจ้งกับกรมการขนส่งเสียก่อน ซึ่งต้องใช้หลักฐาน ใบเสร็จอะไหล่ ใบรับรองวิศวกร นำรถเข้าตรวจหาความถูกต้องปลอดภัยแข็งแรง ก่อนที่อาจจะมีการส่งรถเข้าช่างน้ำหนัก ส่งต่อให้กรมสรรพสามิตคำนวณอัตราภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม มีตั้งแต่หลักหลายพันจนถึงหลักหมื่นบาทเสียก่อน มิฉะนั้นจะถือว่า เป็นการดัดแปลงรถยนต์ให้ผิดจากการจดทะเบียนโดยมิได้ขออนุญาต ก็ผิดเต็มๆอยู่ดี

เปลี่ยนดิสเบรกหลังใส่หลังคาซันรูป ผิดจริงหรือ
            การเปลี่ยนหลังคาซันรูปส่วนมากต้องมีการดัดแปลงเช่น การเจาะหลังคา หรือเปลี่ยนหลังคาใหม่แบบนี้ทางกรมขนส่งจะมองว่า เป็นการแก้ไขดัดแปลง ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของตัวรถ แบบนี้ต้องมีใบเสร็จหลังคา รูปถ่ายขั้นตอนการติดตั้ง และใบรับรองวิศวกร และต้องแจ้งกรมขนส่งทางบกก่อนถึงจะไม่ผิด
ส่วนการเปลี่ยนดรัมเบรก เป็นดิสเบรกหลัง เรื่องนี้ไม่มีกฎออกมาชัดเจนจึงอาศัยการพินิจจากเจ้าหน้าที่กรมขนส่ง ซึ่งแต่ละเขตขนส่งต่างก็มีดุลพินิจไม่เหมือนกัน ถ้าเจ้าหน้าที่พินิจว่าไม่น่าผ่านก็ต้องหาใบเสร็จติดตั้ง และใบวิศวกรมาแจ้งเช่นเดียวกัน

ตีโรลบาร์แบบรถแข่ง ผิดด้วยหรือปล่าว
           กฎหมายว่าด้วยห้องโดยสารมีเพียงข้อกำหนด เรื่องของจำนวนที่นั่ง มาตราวัดความเร็ว และไฟห้องโดยสารเท่านั้น
ส่วนการตีโรลบาร์ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับจึงไม่ผิด แต่การถอดเบาะหลังออกแล้วตีโรลบาร์ จะผิดกฎหมายเรื่องการระบุลักษณะรถ และจำนวนตอน ถือว่าผิดครับ  รวมถึงการความแน่หนา(เช่นเอามือจับแล้วโยกได้)ความเสี่ยงต่ำการเกิดอุบัติเหตุ (เช่นมีส่วนแหลมคมพุ่งเข้าหาผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) ก็ถือว่าผิดได้อีกเช่นกัน ยิ่งถอดเบาะออกเหลือตัวเดียวหรือตัดตัวถังรถออกบางส่วน แล้วตีโรล์บาร์ยึดแบบ Spec Frame แบบนี้ถือว่าผิด ขอหาดัดแปลงสภาพที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ

ใส่กระจกมองข้างแบบเล็กๆ หรือกระจกซิ่งผิดไหม
           ตามกฎหมายอีกเช่นกันระบุไว้ว่า รถยนต์ต้องมีเครื่องส่องหลัง (กระจกมองหลัง) และเครื่องส่องหลังภายนอก (กระจกมองข้าง) อย่างน้อย 1 อัน ซึ่งไม่ได้ระบุถึงขนาดและรูปแบบ ถ้าเปลี่ยนเป็นกระจกมองข้างแบบไฟเบอร์ หรือแบบกระจกซิ่งทรงแข่ง ถ้ามี 2 ด้าน หรือด้านเดียวก็ถือว่าถูกกฎหมาย แต่ถ้าไม่มี กระจกมองข้าง หรือกระจกมองหลัง หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพ ฟันธงว่า มีเครื่องส่องหลังจริง แต่ชำรุดหรือมองเห็นไม่ชัดเจน (กระจกแตก เล็กมาก) ก็จะถือว่าผิด ต้องกลับมาแก้ไขอีกเช่นกัน

เปลี่ยนเบาะซิ่งใส่เซฟตี้เบล 4 จุด จะผิดอีกหรือปล่าว
            เบาะหรือที่นั่งผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ทาง พ.ร.บ. จริงๆแล้วได้ระบุขนาดความกว้างยาวของเบาะเอาไว้ด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องในการระบบุจำนวนผู้โดยสาร
เบาะแต่ง หรือเบาะไฟเบอร์ ส่วนมากมีความถูกต้องในเรื่องขนาด แต่ถ้าถอดเบาะออกไม่ว่าเบาะหลัง ถอดเหลือตัวเดียว หรือสั่งทำเบาะขนาดใหญ่พิเศษแบบนี้จะถือว่าผิด  ส่วนเซพตี้เบลทางกรมก็ได้ทำหนด มาตรฐานเอาไว้อีกเช่นกัน เบล 4 จุดแม้ว่าจะไม่ถูกต้องในเรื่องของมาตรฐาน แต่ถ้ามีการยึดแน่นหนา ก็อนุโลมว่าผ่าน แต่ถ้าใส่เบล 4 จุด 8 จุด แล้วไม่คาด แบบนี้ถือว่าไม่ผิดพระราชบัญญัติหรอกครับ แต่ผิดกฎหมายจราจรถูกจับ เสียทรัพย์ 

ดัดแปลงเครื่องยนต์ขยายซีซี เปลี่ยนเทอร์โบ โมกล่อง ซัก 1000 ม้า จะผิดหรือไม่​
             การขยายซีซีเพิ่มความจุถ้าเป็นในสนามแข่งแบบ OneMake Race ถือว่าผิด สั่งถอนการแข่งขันลูกเดียว (จบเกมส์)
แต่ถ้าเป็นรถใช้งานบนท้องถนน การจะมาวัดกำลังอัด หาขนาดความจุนั้นทำได้ยาก จึงอาศัยการตรวจดูหมายเลขเครื่องยนต์ว่าถูกต้องตามทะเบียนที่แจ้งไว้หรือไม่เท่านั้น
             ถ้าเลขเครื่องถูกถือว่าไม่ผิด จะขยายความจุ เปลี่ยนลูก ยืดข้อ เสริมเสื้อสูบก็ไม่ผิด หรือไม่ว่าจะเปลี่ยนเทอร์โบใหญ่ ใส่กรองเปลือย ตีเฮดเดอร์ เปลี่ยนหัวฉีด โมกล่องจนได้ 500 ม้า 1000 ม้าก็ไม่ผิด เพียงแต่อุปกรณ์ภายในห้องเครื่องต้องดูแล้วแน่หนาและมีความปรอดภัย แต่ถ้าจูนน้ำมันจนหนามาก เจ้าหน้าที่จะใช้ผลการตรวจวัดควันดำ ค่า CO (คาร์บอนมอนออกไซต์) และค่า HC (ไฮโดรคาร์บอน) ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียเป็นข้อกำหนดถึงสภาพเครื่องยนต์
โดยตามพระราชบัญญัติรถยนต์ กล่าวว่า
- รถยนต์ที่จดทะเบียนก่อน 1 พค 2536 ต้องวัดค่า Co ไม่เกิน 4.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 600 PPM
- รถยนต์ที่จดทะเบียนหลัง 1 พค 2536 ต้อง วัดค่า Co ไม่เกิน 1.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 200 PPM 

ส่วนถ้าเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซลไม่ว่าจะเปลี่ยนโบใหญ่ แต่งปั้มเพียงใด
              มาตรฐานการวัดควันดำ ต้องไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบกระดาษกรอง และ 45 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบหาความทึบแสง ซึ่งรถยนต์ที่มีอายุเกิน7 ปี ต้องได้รับการตรวจวัดค่า Co และ Hc จาก ต.ร.อ
ดังนั้นจะโมเครื่องแค่ไหนแต่งเครื่องอย่างไร ถ้าการเผาไหม้หมดจด Co และ Hc ผ่านก็ถือว่าถูกกฎหมาย
ถึงจะแต่งรถถูกกฎหมาย แต่ถ้าเอารถ 500 ม้า 1000 ม้า มาวิ่งหวาดเสียวบนท้องถนน หรือไล่แซงผู้อื่นแบบแข่งขัน แบบนี้ของเพียงอย่าให้ถูกจับได้ ซึ่งอาจมีความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43( , 160 วรรคสาม ฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ถูกจับฟ้องศาล ยึดรถ คุมความประพฤติ

ที่มา กรมขนส่งทางบก
รับออกเอกสารรับรองความปลอดภัยรถยนต์ดัดแปลง สำหรับแจ้งลงเล่มกับกรมการขนส่งทางบก ทั่วประเทศ
บริการเซ็นต์รับรอง รถดัดแปลงสภาพ โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล 
#โหลดเตี้ย #ยกสูง #Sunroof #เปลี่ยนหัวเก๋ง #ตัดต่่อแซชซี #เสริมแหนบ #เพลาลอย #เปลี่ยนเกียร์

13 ข้อควรระวัง แต่งรถยังไงไม่ให้ผิด พ.ร.บ. จราจร

CREDIT: ไทยรัฐออนไลน์


รถซิ่งรถแต่งโหลดเตี้ย โมเครื่องแรงเสียงดังไฟหลากสีล้อโตอวบทะลักหางหลังใหญ่โตยังกับราวตากผ้าอ้อม ขับเข้าด่านตำรวจครั้งใดก็มีแต่ความเสียวว่าจะโดนจับปรับหรือเปล่า ลดกระจกส่งยิ้มให้จ่าแล้วก็ยังไม่รอด โดนหลายกระทงข้อหาดัดแปลงสภาพ หนักหน่อยก็พวกเอกสารสำเนาทะเบียนกับป้ายทะเบียนปลอมที่อาจเล่นกันถึงคุกตะราง มาดู 13 ข้อควรระวังในการตกแต่งรถยนต์สุดที่รักของคุณกันดีกว่าว่าแบบไหนทำได้แบบไหนผิดกฎหมายระวังโดนจับปรับ



1-เปลี่ยนป้ายทะเบียนให้ยาวขึ้น ผมผิดหรือเปล่าครับจ่า
ป้ายทะเบียนที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบกนั้น มีหลายท่านนำมาดัดแปลงตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายยาว การกระทำกับป้ายทะเบียนเดิมๆให้เปลี่ยนไปจากที่เป็นอยู่ คุณจะโดนข้อหาดัดแปลงสภาพป้ายทะเบียน ผิดเต็มประตูไม่ต้องเถียงเลยครับ การปรับเปลี่ยนแปลงร่างป้ายทะเบียนซึ่งถือเป็นเอกสารของทางราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสามารถเรียกปรับไม่เกิน 2,000 บาท รวมถึงการติดป้ายเอียง แบบแหงนขึ้น – แหงนลง มีวัสดุมาปิดทับ เจ้าหน้าที่อาจฟันธงว่า มองเห็นไม่ชัดเจนก็มีโทษปรับเช่นเดียวตราประทับของกรมการขนส่งทางบก เมื่อตำรวจจราจรขอตรวจดูสำเนาแล้วไม่ตรงกับป้าย จะต้องคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ เจ้าหน้าที่อาจจะเรียกปรับ หรือส่งฟ้องเพื่อทำการเรียกปรับที่ชั้นศาล โดยระบุโทษไว้ที่ 100,000 บาท หากหมายเลขป้ายทะเบียนไม่ตรงกับป้ายวงกลม รวมถึงยังไม่ตรงกับสำเนารถ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิ์ยึดรถ เพื่อส่งเข้ากองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อหาที่มาของตัวรถและผู้ขับขี่ต้องไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ รวบรวมสำนวน ส่งให้ศาลตัดสินค่าปรับซึ่งมีบางท่านโดนปรับกันหลักแสนหลักล้านบาทมาแล้วกันการไม่ติดป้าย หรือวางไว้ที่กระจกหน้ารถ ผิดอีกเช่นกันปรับ 500 บาท
ส่วนการติดป้ายที่ทำขึ้นเอง เช่นทำด้วยกระดาษ หรือใช้การเขียน แต่หมายเลขตรงกับทะเบียนรถ ผิดข้อหา ไม่ใช้เอกสารที่ทางราชการกำหนดแต่ถ้าเป็นป้ายปลอมที่ทำขึ้นเองโดยไม่มี




2-โหลดเตี้ยแบบรถแข่งในสนาม
เป็นความพยายามและความเข้าใจของคนแต่งรถว่ารถที่เตี้ยต่ำจะยึดเกาะกับถนนได้ดีขึ้นซึ่งก็จริงแต่ไม่ทั้งหมด การยึดเกาะที่ดีของรถยนต์ยังเกิดขึ้นจากช่วงล่างที่สมบูรณ์ ยางที่สดใหม่และอยู่ในสภาพดี สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับการโหลดรถ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รถที่โหลดเตี้ยจะต่ำแค่ไหนก็ได้ โดยยึดหลักเพียงการวัดระยะกึ่งกลางไฟหน้า กับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าถือว่าผิด แต่ถ้าไฟหน้าสูงกว่าแต่รถใส่สปอยเลอร์จนเตี้ยต่ำแทบจะลากพื้น จะใช้กฎการพินิจจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนายช่างตรวจสภาพกรมการขนส่งทางบก และผู้วินิจฉัยผล ตรอ. ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ ถ้าฟันธงว่าเสี่ยงก็ถือว่าผิดได้เช่นกันนะจ๊ะ



3-ยกสูงแบบ Big Foot เอาไว้ลุยเท่ๆ
รถยนต์แบบออฟโรดที่มีสัดส่วนความสูงมากกว่ารถเก๋งเนื่องจากสภาพการใช้งานที่ต้องบุกป่าฝ่าทางวิบาก หากใต้ท้องรถไม่สูงมากพอก็อาจติดกับร่องทางหรือหล่มโคลนจนไปต่อไม่ได้ ในพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จะยกสูงแค่ไหน แต่ต้องวัดระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร แต่ถ้าไฟหน้าสูงไม่เกิน แต่รถโด่งโจ้งมาก มีการดัดแปลงสภาพมากทั้งเสริมโช้กยกตัวถัง การปรับแต่งรถแบบยกสูงมากนั้นต้องมีหนังสือจากวิศวกรรองรับการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมการขนส่งทางบกว่ามีการดัดแปลงเพื่อใช้งานในเขตทุรกันดาน แต่ถ้ายกไม่สูงมาก แต่ใส่ยางใหญ่เกินจนล้นออกมาข้างตัวรถมากๆ เกินบังโคลนล้อ ก็ต้องใช้หลักดุลพินิจอีกเช่นกันว่าเสี่ยงต่อผู้ร่วมใช้ถนนหรือไม่ ถ้าคุณจ่าคิดว่าสิ่งที่ยื่นออกมานั้นอาจเป็นอันตรายต่อการใช้รถของผู้อื่นคุณก็จะเสี่ยงกับความผิดทันที




4-ใส่ล้อ 20 หรือ 22 แบบเต็มซุ้มเพื่อความหล่อและอำนาจของการยึดเกาะ
ในกฎหมายไม่มีการระบุขนาดของล้อและขนาดก็ไม่ได้มีผลการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น จะใส่ล้อใหญ่ขอบ 18-19-20 หรือจะ 22 ก็สามารถทำได้แบบสะดวกโยธิน แต่ถ้าใส่แล้วยางล้นเกินออกมานอกบังโคลนล้อข้างละหลายนิ้ว เจ้าหน้าที่ที่ตั้งด่านได้ตรวจพบว่าอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น (เช่นทำให้ผู้อื่นกะระยะรถผิดในขณะสวนหรือเลี้ยว) ก็ถือว่าผิดได้ หรือใส่ล้อใหญ่จนต้องแบะล้อเพื่อหลบซุ้ม การทำแบบนั้นนอกจากรถจะไม่เกาะถนนแล้วยังเป็นการทำร้ายช่วงล่างอย่างรุนแรงอีกด้วย มุมอินเอาต์ต่างๆ ที่ผิดเพี้ยนไปจากการคำนวณของวิศวกรจะทำให้คุณควบคุมรถล้อแบะได้ยากขึ้น แถมยังกินยางและดูแลรักษายากอีกด้วยนะครับ




5-โป่งซุ้มล้อไซส์ยักษ์
การทำโป่งซุ้มล้อหรือที่เรียกกันว่า Wide Body ในปัจจุบันลดน้อยลงไปมากเนื่องจากรถยนต์สมัยใหม่มีโป่งล้อมาให้แบบจุใจ ในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนในเรื่องของโป่งล้อ แต่ก็มีระบุไว้ว่า ส่วนที่ตียื่นต้องมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวกับตัวรถ หรือถ้าเป็นวัสดุคนละชนิดกัน ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา ถ้าไม่แน่นหนาหรือตีโป่งยื่นออกมามาก เจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ขอตรวจดูสำเนาการจดทะเบียน ว่ามีการดัดแปลงเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โดยอ้างอิงจากบริษัทผู้ผลิตถึงขนาดตัวรถ และฐานล้อ ซึ่งต้องใช้วิศวกรรับรองการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมการขนส่งทางบก ถ้าขนส่งตรวจแล้วลงความเห็นว่าผ่านก็โชคดีไป แต่ถ้าลงความเห็นว่าไม่ผ่านต้องเลาะออกกลับสภาพเดิม




6-ฝากระโปรงหน้า–หลังดำ ฝากระโปรง หลังคาคาร์บอนไฟเบอร์
นักเลงรถแรงส่วนมากมักนิยมเปลี่ยนฝากระโปรงแบบเดิมให้กลายเป็นฝาแบบคาร์บอนไฟเบอร์เพื่อลดน้ำหนักและเพิ่มความขลังในมุมมอง หากทำการพ่นเป็นสีเดียวกับสีรถ ที่จดทะเบียนไว้ถือว่าไม่ผิด แต่ถ้าเปลี่ยนสีฝากระโปรงเป็นสีดำ หรือสีอื่น ที่ไม่ตรงกับสีตัวรถ เจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามกฎที่ว่า รถยนต์ที่จดทะเบียนจะมีการระบุสีตัวรถไว้อย่างชัดเจนไม่รวมสีของกันชนรถ โดยสีอื่นต้องมีไม่เกินครึ่งหนึ่งของสีหลักที่จดทะเบียนไว้ เช่น ในกรณีรถระบุไว้ในทะเบียนว่าเป็นสีขาวแต่ฝากระโปรงหน้าเป็นสีดำ เจ้าหน้าที่พินิจแล้วไม่เกินครึ่งหนึ่งก็ถือว่าไม่ผิด แต่พินิจว่าผิดก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน (การพินิจหมายถึง การใช้หลักพิจารณาในแต่ละบุคคล) แต่ถ้าดำทั้งฝากระโปรงหน้าและหลัง ส่วนมากจะพินิจว่าผิด เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของสีหลัก ซึ่งเจ้าของรถต้องนำรถเข้าไปแจ้งเปลี่ยนสี ว่าเป็นรถสองสี (ทูโทน) กับกรมการขนส่งทางบกเสียก่อน ถ้าไม่แจ้งก็อาจต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท




7-เปลี่ยนท่อไอเสีย ตีเฮดเดอร์ใหม่ทั้งเส้น
จะเปลี่ยนท่อใหญ่ 3 นิ้ว 4 นิ้ว จะมีหม้อพักกี่ใบ หรือจะไม่มีหม้อพักเลยก็ได้แต่หม้อพักต้องปล่อยออกทางท้ายรถเท่านั้น (ยกเว้นเสียแต่พวกรถพ่วง รถโดยสารขนาดใหญ่) ถ้าออกข้างตัวถังรถก็ถือว่าผิดทันที ตามกฎหมายจะระบุไว้แค่การวัดเสียงดังที่ปล่อยออกจากปลายท่อตามพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุว่า รถยนต์ที่เกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ สถานตรวจสภาพ เพื่อตรวจวัดระดับเสียงที่ปลายท่อไอเสียด้วยเครื่อง Sound level Meter ผลที่ได้ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล (การตรวจวัดแบบ O.5 เมตร) สำหรับเครื่องยนต์เบนซิลวัดที่ ¾ รอบที่ให้แรงม้าสูงสุด และรอบสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ถ้าท่านใดถูกจับในข้อหาเสียงท่อดังสนั่นหวั่นโลกจนชาวบ้านร้านตลาดตกกะใจ ระวังต้องโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท




8-ไฟหน้าหลายสี
ไฟซีนอนกำลังส่องสว่างแรงสูง ไฟท้ายขาวใสแนวซิ่ง โคมขาว โคมดำ พ่นสีดำที่โคมไฟหน้าและไฟท้าย ปัจจุบันไฟหน้าแบบซีนอน ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ จึงอนุญาตให้ติดได้ เพียงแต่ติดตั้งแล้วเมื่อเข้าเครื่องมือทดสอบโคมไฟ ลำแสงต้องมีองศาตกลงจากแนวระนาบ ไม่น้อยกว่า 2 องศา และต้องไม่เบนไปทางขวา ถึงเรียกว่าผ่าน ส่วนเรื่องสีของไฟ โคมไฟหน้าทางกรมกำหนดไว้เพียง 2 สี เท่านั้นคือ สีเหลืองอ่อน และสีขาว ถ้าเป็นสีอื่น เช่น สีฟ้า สีม่วง สีเหลืองเข้มหรือสีเขียว มีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนไฟหยุด (ไฟเบรก) ต้องเป็นสีแดง ไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลืองอำพัน ไฟส่องป้ายต้องเป็นสีขาวมองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตร การเปลี่ยนโคมไฟเป็นสีขาวใสหรือพ่นโคมเป็นสีดำ ต้องพิจารณาขณะเปิดไฟเลี้ยว ไฟเบรก ถ้าหลอดไฟที่แสดงออกมาชัดเจนและเป็นสีที่ทางการกำหนดก็ถือว่าผ่าน ถ้าผิดสีเพี้ยนไปจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายระวังโดนปรับไม่เกิน 2,000 บาท




9-ไฟสปอร์ตไลต์และโคมไฟตัดหมอก ติดตั้งอย่างไรถึงจะว่าไม่ผิด
โคมไฟสปอร์ตไลต์หมายถึงโคมไฟแสงพุ่งไกล แบบกระจายวงกว้าง แบบนี้ห้ามติดโดยเด็ดขาดแม้จะมีฝาครอบปิด ผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟแสงพุ่งต่ำ ล่าสุดปี พ.ร.บ. 2536 อนุญาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลต์หรือไฟตัดหมอกเพิ่มได้ ข้างละ 1 ดวง (เท่ากับ 2 ดวง) ในระดับแนวเดียวกัน ความสูงจากพื้นถนนไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร และไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร ต้องเป็นแสงสีเหลืองหรือสีขาว กำลังไฟไม่เกิน 55 วัตต์ ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
การเปิดไฟตัดหมอกนั้นทำได้เมื่อมีอุปสรรค์ในการขับขี่ เช่น มีหมอกควัน หรือฝนตกหนัก มองเห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่สวนทางมาในระยะไม่เกิน 150 เมตร ถ้าติดไม่ถูกต้อง หรือเปิดไฟพร่ำเพรื่อมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
รวมถึงการติดไฟนีออนใต้ท้อง หรือกรอบป้ายทะเบียน ก็เป็นสิ่งต้องห้าม ผิดอีกเช่นเดียวกันโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท




10-ตีโรลบาร์แบบรถแข่ง ผิดด้วยหรือเปล่า
กฎหมายว่าด้วยห้องโดยสารมีเพียงข้อกำหนด เรื่องของจำนวนที่นั่ง มาตราวัดความเร็ว และไฟห้องโดยสารเท่านั้น ส่วนการตีโรลบาร์ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับจึงไม่ผิด แต่การถอดเบาะหลังออกแล้วตีโรลบาร์ จะผิดกฎหมายเรื่องการระบุลักษณะรถ และจำนวนตอน ถือว่าผิดครับ รวมถึงความแน่นหนา (เช่น เอามือจับแล้วโยกได้) ความเสี่ยงต่ำการเกิดอุบัติเหตุ (เช่น มีส่วนแหลมคมพุ่งเข้าหาผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) ก็ถือว่าผิดได้อีกเช่นกัน ยิ่งถอดเบาะออกเหลือตัวเดียวหรือตัดตัวถังรถออกบางส่วน แล้วตีโรล์บาร์ยึดแบบ Spec Frame แบบนี้ถือว่าผิด ข้อหาดัดแปลงสภาพที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ




11-ใส่กระจกมองข้างแบบเล็กๆ หรือกระจกซิ่ง ผิดไหม
ตามกฎหมายอีกเช่นกันระบุไว้ว่า รถยนต์ต้องมีเครื่องส่องหลัง (กระจกมองหลัง) และเครื่องส่องหลังภายนอก (กระจกมองข้าง) อย่างน้อย 1 อัน ซึ่งไม่ได้ระบุถึงขนาดและรูปแบบ ถ้าเปลี่ยนเป็นกระจกมองข้างแบบไฟเบอร์ หรือแบบกระจกซิ่งทรงแข่ง ถ้ามี 2 ด้าน หรือด้านเดียวก็ถือว่าถูกกฎหมาย แต่ถ้าไม่มีกระจกมองข้าง หรือกระจกมองหลัง หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพ ฟันธงว่า มีเครื่องส่องหลังจริง แต่ชำรุดหรือมองเห็นไม่ชัดเจน (กระจกแตก เล็กมาก) ก็จะถือว่าผิด ต้องกลับมาแก้ไข




12-เปลี่ยนเบาะซิ่งใส่เซฟตี้เบลต์ 4 จุดยึดแบบรถแข่ง
เบาะหรือที่นั่งผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ทาง พ.ร.บ. จริงๆ แล้วได้ระบุขนาดความกว้างยาวของเบาะเอาไว้ด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องในการระบุจำนวนผู้โดยสาร เบาะแต่ง หรือเบาะไฟเบอร์ ส่วนมากมีความถูกต้องในเรื่องขนาด แต่ถ้าถอดเบาะออกไม่ว่าเบาะหลัง ถอดเหลือตัวเดียว หรือสั่งทำเบาะขนาดใหญ่พิเศษแบบนี้จะถือว่าผิด ส่วนเซฟตี้เบลต์ทางกรมก็ได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้อีกเช่นกัน เบลต์ 4 จุดแม้ว่าจะไม่ถูกต้องในเรื่องของมาตรฐาน แต่ถ้ามีการยึดแน่นหนา ก็อนุโลมว่าผ่าน แต่ถ้าใส่เบลต์ 4 จุด 8 จุด แล้วไม่คาด แบบนี้ถือว่าไม่ผิดพระราชบัญญัติหรอกครับ แต่ผิดกฎหมายจราจรถูกจับ เสียทรัพย์อีกแล้วครับ




13-ดัดแปลงเครื่องยนต์ขยายซีซี เปลี่ยนเทอร์โบ โมกล่อง
การจะมาวัดกำลังอัด หาขนาดความจุนั้นทำได้ยาก จึงอาศัยการตรวจดูหมายเลขเครื่องยนต์ว่าถูกต้องตามทะเบียนที่แจ้งไว้หรือไม่เท่านั้น ถ้าเลขเครื่องถูกถือว่าไม่ผิด จะขยายความจุ เปลี่ยนลูก ยืดข้อ เสริมเสื้อสูบก็ไม่ผิด หรือไม่ว่าจะเปลี่ยนเทอร์โบใหญ่ ใส่กรองเปลือย ตีเฮดเดอร์ เปลี่ยนหัวฉีด โมกล่องจนได้ 500 ม้า 1,000 ม้าก็ไม่ผิด เพียงแต่อุปกรณ์ภายในห้องเครื่องต้องดูแล้วแน่นหนาและมีความปลอดภัย แต่ถ้าจูนน้ำมันจนหนามาก เจ้าหน้าที่จะใช้ผลการตรวจวัดควันดำ ค่า CO (คาร์บอนมอนอกไซด์) และค่า HC (ไฮโดรคาร์บอน) ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียเป็นข้อกำหนดถึงสภาพเครื่องยนต์
โดยตามพระราชบัญญัติรถยนต์ กล่าวว่า
รถยนต์ที่จดทะเบียนก่อน 1 พ.ค. 2536 ต้องวัดค่า Co ไม่เกิน 4.5 เปอร์เซ็นต์ และค่า Hc ไม่เกิน 600 PPM
รถยนต์ที่จดทะเบียนหลัง 1 พ.ค. 2536 ต้องวัดค่า Co ไม่เกิน 1.5 เปอร์เซ็นต์ และค่า Hc ไม่เกิน 200 PPM
ส่วนถ้าเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซลไม่ว่าจะเปลี่ยนโบใหญ่ แต่งปั๊มเพียงใด
มาตรฐานการวัดควันดำ ต้องไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบกระดาษกรอง และ 45 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบหาความทึบแสง ซึ่งรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี ต้องได้รับการตรวจวัดค่า Co และ Hc จาก ตรอ. ดังนั้นจะโมเครื่องแค่ไหนแต่งเครื่องอย่างไร ถ้าการเผาไหม้หมดจด Co และ Hc ผ่านก็ถือว่าถูกกฎหมาย
ถึงจะแต่งรถถูกกฎหมาย แต่ถ้าเอารถที่มีพละกำลังมากๆ แบบรถซุปเปอร์คาร์ 5-600 แรงม้า หรือบางคันว่ากันถึง 700 แรงม้า มาซิ่งกระจายอัดแข่งกันบนถนนหลวง มุดซ้ายป่ายขวาแบบหวาดเสียว ไล่บี้ไล่แซงรถคันอื่นแบบแข่งขัน แบบนี้ขอเพียงอย่าให้ถูกจับได้ ซึ่งอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคสาม ฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น มีสิทธิ์โดนสกัดจับแล้วถูกส่งฟ้องศาล ยึดรถ คุมความประพฤติ ราตรีสวัสดิ์กันไป
อุปกรณ์ตกแต่งรถอะไรบ้างที่ติดตั้งแล้วไม่มีผิดกฎหมาย
1. ท่อไอเสียรถยนต์ไม่ว่าขนาดใหญ่หรือเล็ก จะเป็นรูปทรงอะไรก็ตามไม่ผิดกฎหมาย แต่จะต้องมีความดังของเสียงท่อไอเสีย ไม่เกิน 90 เดซิเบล (ในกรณีโดนตรวจจับ ทางตำรวจจะต้องใช้เครื่องมือตรวจเท่านั้นฟังด้วยหูไม่ได้)
2. สปอยเลอร์ หรือชุดแต่งไฟเบอร์ สามารถตกแต่งได้ไม่ผิดกฎหมาย แต่วัสดุที่นำมาติดตั้งต้องแข็งแรง
3. รถโหลดเตี้ย สามารถกระทำได้ ไม่ผิด พ.ร.บ. แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 40 ซม. โดยวัดจากพื้นถึงไฟหน้ารถยนต์ของท่าน
4. รถยกสูง สามารถกระทำได้ ไม่ผิด พ.ร.บ. แต่ต้องไม่สูงเกิน 175 ซม. โดยวัดจากพื้นถึงไฟหน้ารถยนต์ของท่าน
5. เกจ์ และมาตรวัดต่างๆ ที่ติดตั้งภายในรถ สามารถติดตั้งได้โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด
6. ไฟโคมเหลือง หรือสปอร์ตไลต์สามารถติดตั้งและเปิดได้ แต่ไฟต้องไม่แยงตาผู้อื่น ไม่งั้นอาจโดนตักเตือนได้ เช่นเดียวกับไฟ xenon (ไฟหน้ารถสีขาวสว่าง) แต่ถ้าเป็นไฟสีอื่นที่ไม่ใช่สีขาวหรือเหลืองผิดกฎหมายทันที
7. ไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง ต้องเป็นไฟสีเหลืองส้มเท่านั้น
8. ไฟถอยหลังต้องเป็นสีขาวเท่านั้น
9. การตกแต่งป้ายทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นทะเบียนยาว (ตัดป้ายหรือไม่ตัดป้าย) ผิด พ.ร.บ. ส่วนป้ายทะเบียนแบบปรับองศาสามารถติดตั้งได้ แต่เมื่อมองจากด้านหน้าแล้วต้องเห็นป้ายทะเบียนชัดเจน
10. ล้ออัลลอย (ล้อ max) จะใส่ขอบขนาดเท่าไรก็ได้ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ขนาดของล้อจะต้องไม่ล้นออกมานอกตัวถัง แต่ถ้าไปดึงโป่งให้ล้อยื่นออกมาเกินกว่าตัวถังถือว่าผิดเต็มๆ เพราะนั่นแหละคือการดัดแปลงสภาพรถยนต์
11. สติกเกอร์แต่งรถไม่ว่าจะชิ้นใหญ่หรือเล็ก สามารถติดได้ไม่ว่าจะมากมายขนาดไหนก็ตามไม่ผิดกฎหมาย
12. กระโปรงหน้ารถสามารถทำเป็นสีดำ หรือลายเคฟล่าได้ แต่ต้องไปแจ้งการเปลี่ยนสีรถที่กรมการขนทางบก ส่งเป็น 2 สี ไม่งั้นถือว่าผิดกฎหมาย
13. การเปลี่ยนสีรถเฉพาะจุด หรือทั้งหมดต้องแจ้งที่กรมการขนส่งทางบก
14. การวางเครื่อง เมื่อวางเครื่อง + จ่ายเงินแล้ว ต้องแจ้งกรมการขนส่งทางบก

Update ตรวจและออกเอกสารรับรองรถดัดแปลงสำหรับสถานประกอบการ ทำการดัดแปลงเพื่อใช้งานในโรงงาน

Update ตรวจและออกเอกสารรับรองรถดัดแปลงสำหรับสถานประกอบการ ทำการดัดแปลงเพื่อใช้งานในโรงงาน

# ออกเอกสารรับรอง+รายการคำนวณประกอบแบบ เพื่อขออนุญาตกรมการขนส่งทางบกเพื่อใช้วิ่งในถนนปกติ

# CREDIT: MICHELIN ROH  นิคมอุตสาหกรรมสระบุรี













































รับออกเอกสารรับรองความปลอดภัยรถยนต์ดัดแปลง สำหรับแจ้งลงเล่มกับกรมการขนส่งทางบก ทั่วประเทศ
บริการเซ็นต์รับรอง รถดัดแปลงสภาพ โดยสามัญวิศวกรเครื่องกล 
#โหลดเตี้ย #ยกสูง #Sunroof #เปลี่ยนหัวเก๋ง #ตัดต่่อแซชซี #เสริมแหนบ #เพลาลอย #เปลี่ยนเกียร์